วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ระบบ AS/RS

ระบบ AS/RS

          ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ (Automated Storage/Retrieval System เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ  การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดัง ที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้ โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์ แบบ AS/RS จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์ AS/RS ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ

  ระบบ AS/RS แบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้

- Unit Load AS/RS

- Miniload AS/RS

- Man-on-Board AS/RS หรือ Manaboard AS/RS

- Automated Item Retrieval System

- Deep-Lane AS/RS

 องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ AS/RS

1.      โครงสร้างที่เก็บวัสดุ (Storage Structure)

2.      เครื่อง S/R (Storage/Retrieval Machine)

3.      หน่วยของการเก็บวัสดุ (Storage Module)

4.      สถานีหยิบและฝากวัสดุ (Pickup and Deposit Station)

 อุปกรณ์พิเศษของระบบ AS/RS

1.      รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่งวัสดุ (Aisle Transfer Car)

2.      อุปกรณ์ตรวจสอบถังบรรจุวัสดุว่างเปล่า/เต็ม

3.      สถานีวัดขนาดโหลด (Sizing Station)

4.      สถานีบ่งชี้โหลด (Load Identification Station)

การประยุกต์ใช้ระบบ AS/RSการแยกใช้งานของระบบ AS/RS ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1.      จัดเก็บและเรียกคืน Unit Load

2.      หยิบวัสดุตามสั่ง (Order picking)

3.      ระบบจัดเก็บวัสดุระหว่างกระบวนการ

ตัวอย่างโกดังของระบบ AS/RS







วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ระบบขนส่งวัสดุอัตโนมัติ




สายพานลำเลียงแบบผ้าใบ

        ระบบสายพานลำเลียง Canvas Belt Conveyor System (แบบผ้าใบ) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุ ระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบ สามารถทนความร้อนได้และมีควา มยืดหยุ่นค่อนข้างน้อยเมื่อรับแรงดึง ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบผ้าใบจะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถขยับตัวระบบลำเลียงให้ตรงกับไลน์การผลิตได้ เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง อาหาร เป็นต้น





สายพานลำเลียงแบบพลาสติก

        ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก) สำหรับลำเลียงชิ้นงานหรือวัสดุขึ้นในแนวลาดเอียง ในไลน์การผลิตที่มีการลำเลียงต่างระดับ ระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก สามารถลำเลียงผ่านน้ำหรือลำเลียงชิ้นงานที่เปียกได้ และยังไม่เป็นสนิท ลักษณะการทำงานของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะลำเลียงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยการลำเลียงจะมีลักษณะแนวลาดเอียง ลำเลียงจากที่ต่ำขึ้นสู่ที่สูง องศาลาดเอียงของระบบสายพานลำเลียงแบบพลาสติก จะเริ่มตั้งแต่ 10องศา และไม่เกิน 45องศา เหมาะสำหรับงานลำเลียงประเภทยาง , อาหาร , บรรจุภัณฑ์หีบห่อ หรือ ลำเลียงสิ่งของที่ต้องผ่านเครื่อง X-Ray ... ข้อมูลเพิ่มเติม >> ระบบสายพานลำเลียง Plastic Belt Conveyor System (แบบพลาสติก)



ระบบAGV Driver Train

    รถ AGV (Auto Guiding Vehicle) หรือเรียก กันว่า รถขนส่ง อัตโนมัติ มีระบบควบคุมเส้นทาง และ นำทางการขับเคลื่อนด้วยการเหนี่ยวนำของสนาม แม่เหล็กที่ฝังอยู่ในพื้นผิวทางเดินรถ AGV หรือแบบ ควบคุมโดยการตรวจจับด้วยแสงเลเซอร์ เพื่อให้รถ AGV สามารถเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดได้ ด้วยการประมวลผลควบคุมการทำงาน โดยไมโครคอนโทรลเลอร



  

        AGV (Automated Guided Vehicle) คือรถลำเลียงสินค้าอัตโนมัติโดยใช้แถบแม่เหล็ก วิชั่น หรือเลเซอร์ เป็นตัวบอกทิศทางให้กับรถเวลาเคลื่อนที่ ส่วนมากใช้ในงานอุตสาหกรรม/โรงงาน/คลังสินค้า ไว้ลำเลียงสินค้า/ชิ้นงาน จากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ปัจจุบัน AGV เป็นที่นิยมมากขึ้นเนื่องจาก AGV ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ ทำงาน ลดข้อผิดพลาดหรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้แรงงานคน











วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2563

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม


หุ่นยนต์ในการประกอบรถยนต์

           หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม เป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อนำมาใช้ทดแทนคนในกระบวนการผลิตต่างๆ หรือนำมาใช้เพื่อช่วยในกระบวนการผลิตในลักษณะหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคน ซึ่งหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างมานั้นมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องการนำมาประยุกต์ใช้งาน สำหรับหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมนั้นสามารถแบ่งออกได้ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 7 ชนิด ดังนี้

  • Cartesian Robot
  • Cylindrical Robot
  • Polar Coordinate Robot
  • Scalar Robot
  • Articulate Robot
  • Spine Robot
  • Parallel link Robot

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้ง 7 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะการเคลื่อนที่และความสามารถในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้งานที่ต่างกันด้วยแต่ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาด้วยหลักการพื้นฐานเดียวกัน ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนของหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด นั่นคือ Articulate Robot อันเนื่องมาจากหุ่นยนต์ชนิดนี้มีความสามารถในการทำงานและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบมากกว่าขนิดอื่นๆ 

เหตูผลที่เลือกหุ่นยนตร์ในการประกอบรถยนตร์

      งานหลายๆงานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นงานที่เสี่ยงและอันตราย หุ่นยนต์ Cobot จึงสร้างมาเพื่อทำงานที่มนุษย์ไม่สามารถทำได้ เช่น งานเชื่อมชิ้นส่วนรถยนต์ งานที่อยู่ภายใต้งานที่เป็นอันตราย เป็นต้น พนักงานในโรงงานจึงไม่จำเป็นต้องมีความเสี่ยงเพราะหุ่นยนต์ Cobot ได้ทำหน้าที่แทนแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2563

เครื่องจักร NC CNC DNC




เครื่องจักร NC

NC  ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่.ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ CNC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน  อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC  ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว

 ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ

         1.ชุดคำสั่ง (Programmed)
         2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit)
         3.เครื่องจักร NC(NC Machine Tool)



เครื่องจักร CNC

          เครื่อง CNC=Computer Numerical Control 

เป็นเครื่องจักรกลอัติโนมัติที่ทำงานโดยการโปรแกรมเข้าไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะให้มันทำงานตามแบบที่เราโปรแกรมเข้าไป มีหลายภาษาที่ใช้กับเครื่อง โดยมากจะเป็นงานโลหะที่มีความซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง โดยที่การหล่อไม่สามารถทำได้หรือสามารถทำได้ก็ตาม

        เครื่องจักรกลพื้นฐานเช่น เครื่องกลึง เครื่องกัด เครื่องเจียรนัย และเครื่องตัดโลหะแผ่นเป็นเครื่องจักรกลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร เครื่องยนต์ และแม่พิมพ์ ตลอดจนหน่วยงานสร้าง – ซ่อมงานโลหะโดยทั่วไป 

 

 


เครื่องจักร DNC

        เครื่อง DNC Distribution Numerical Control: DNC SYSTEM คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์กลางในการติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนและกระจายข้อมูลซึ่งในที่นี้คือ โปรแกรม NC Data กับหน่วยควบคุม NC ของเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละตัวได้เพื่อเป็นศูนย์กลางในการบริการข้อมูลทั้งรับข้อมูล และส่งข้อมูลจำเพราะให้กับเครื่องจักรกลระบบ CNC แต่ละเครื่องในเครือข่ายตามที่แต่ละเครื่องต้องการพร้อมๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน

        SUPER-DNC SOFTWARE คือ โปรแกรมควบคุมระบบ DNC ที่มีความทันสมัย มีสเถียรภาพและสามารถสื่อสารกับเครื่องจักรกลระบบ CNC ได้หลากหลายรุ่นและหลายยี่ห้อ 

      



































วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2563

บทความทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร

 

     คอมพิวเตอร์  หมายถึง  เครื่องมือหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่า หน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่ง ที่ระบุขั้นตอนการคำนวณ เรียกว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์  ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง  ตัวเลข  ข้อความ  รูปภาพ  เสียง  หรืออยู่ในรูปอื่นๆ

ประวัติความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

     คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ “ลูกคิด” (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปีมาแล้ว  

    จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2376 นักคณิตศาสต์ชาวอังกฤษ ชื่อ ชาร์ล แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ประดิษฐ์เครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) สามารถคำนวณค่าของตรีโกณมิติ ฟังก์ชั่นต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ การทำงานของเครื่องนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนเก็บข้อมูล ส่วนคำนวณ และส่วนควบคุม ใช้ระบบพลังเครื่องยนต์ไอน้ำหมุนฟันเฟือง มีข้อมูลอยู่ในบัตรเจาะรู คำนวณได้โดยอัตโนมัติ และเก็บข้อมูลในหน่วยความจำ ก่อนจะพิมพ์ออกมาทางกระดาษ หลักการของแบบเบจนี้เองที่ได้นำมาพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เราจึงยกย่องให้แบบเบจเป็น บิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์หลังจากนั้นเป็นต้นมา ได้มีผู้ประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นมามากมายหลายขนาด ทำให้เป็นการเริ่มยุคของคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง   โดยสามารถจัดแบ่งคอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 5 ยุค

  • ยุคที่หนึ่ง (First Generation Computer) พ.ศ. 2489-2501
  • ยุคที่สอง (Second Generation Computer) พ.ศ. 2502-2506
  • ยุคที่สาม (Third Generation Computer) พ.ศ. 2507-2512
  • ยุคที่สี่ (Fourth Generation Computer) พ.ศ. 2513-2532
  • ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน

การประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดยเมาช์ลีและเอ็กเคอร์ต (Mauchly and Eckert) ได้นำแนวความคิดนั้นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพมากเครื่องหนึ่งเรียกว่า ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator) ซึ่งต่อมาได้ทำการปรับปรุงการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  และได้ประดิษฐ์เครื่อง UNIVAC (Universal Automatic Computer) ขึ้นเพื่อใช้ในการสำรวจสำมะโนประชากรประจำปี ซึ่ง UNIVAC เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ถูกใช้งานในเชิงธุรกิจ จึงนับเป็นการเริ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกอย่างแท้จริง

        ความสำคัญของคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน  ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีบทบาทอย่างมากในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้ง

  • ด้านธุรกิจ การสื่อสารและธุรกิจ การเลือกซื้อสินค้า เพราะสะดวก รวดเร็ว ทำให้ธุรกิจดำเนินไปอย่างรวดเร็ว คล่องตัว และประหยัดพลังงานด้านบุคลากร
  • ด้านการศึกษา ใช้พิมพ์รายงาน นำเสนอผลงาน ทำสื่อการเรียนการสอน สามารถเข้าเรียนวิชาต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ต บางหลักสูตรเรียนฟรี บางหลักสูตรมีค่าใช้จ่าย การสืบค้นข้อมูล ทำได้อย่างรวดเร็วทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ค้นหาบทความ ข่าวสาร  รูปภาพต่างๆ
  • ด้านความบันเทิง สามารถอ่านหนังสือ ฟังเพลง ชมรายการต่างๆ ของสถานีโทรทัศน์ และเล่นเกมเพื่อการศึกษาหาความรู้ ฝึกทักษะด้านต่างๆ และผ่อนคลายความเครียด

นอกจากนี้ยังมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกิจการโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ มีการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ของผู้ผลิตหุ่นยนต์ยักษ์ใหญ่จากญี่ปุ่น ผลิตหุ่นยนต์ออกมา เพื่อใช้ทำงานแทนมนุษย์อีกด้วย

        บทบาทและประโยชน์ของคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์มีบทบาทเกี่ยวข้องกับทุกคน ทุกอาชีพ ทั้งนักเรียนนักศึกษา  ทุกองค์กร  รวมถึงคนทั่วไปและผู้ใช้ตามบ้านด้วย  โดยแบ่งเป็นด้าน ได้ดังนี้

  • ด้านงานราชการ  หน่วยงานทางราชการจะใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดเก็บข้อมูล เช่น ที่ว่าการอำเภอ ใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลการแจ้งเกิด แจ้งตาย ย้ายที่อยู่ หรือทำบัตรประชาชน
  • ด้านงานสื่อสารโทรคมนาคม  คอมพิวเตอร์มีบทบาทสำคัญในการควบคุมระบบการจราจรทางบกและทางอากาศ ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดระเบียบของเส้นทางการจราจร
  • ด้านงานการศึกษา  การเรียนการสอนในปัจจุบัน ได้นำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)  ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเอง และทบทวนเนื้อหาได้ตลอดเวลา ทั้งนี้การเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต (e-learning) ยังช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
  • ด้านงานวิทยาศาสตร์และการแพทย์  นักวิทยาศาสตร์และแพทย์ได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการศึกษา คำนวณ ค้นคว้า วิจัย และจำลองสิ่งต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และสร้างผลงานใหม่ๆ เช่น การพยากรณ์อากาศ การสำรวจและขุดเจาะทรัพยากรธรณี การใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ข้อดี-ข้อเสียของคอมพิวเตอร์

ข้อดีของคอมพิวเตอร์

1. ความเร็วสูง

2.ความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ                                                                            

3. ความสามารถในการจำหรือรักษา

4. การประหยัด

5. การใช้งานได้อีกหลายๆด้าน

ข้อเสียของคอมพิวเตอร์

     • ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมลง                     • ทำให้เกิดความขัดแย้ง

      • ทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านข้อมูล                            • ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมอันไม่พึงประสงค์

 

วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563

สมาชิกในชั้นเรียน

ลำดับที่       ชื่อ                                                               URL

1. นาย ปิยะพล เทพจันทร์                                      https;//piyapon001.blogspot.com

2. นาย ชวนากร ดำศรีสุข                                        https://chawanakon002.blogspot.com

3. นางสาว พิมพ์นารา ชายแก้ว                               https://pimnara003.blogspot.com

4. นาย ธนกฤต ทองอุบล                                        https://thanakrit004.blogspot.com

5. นางสาว วรางคนาง ทองสง                                warangkana005.blogspot.com

6. นายธนพัต เอียดหม้ง                                          thanaphat006.blogspot.com

7. นาย อภินัทธิ์ ผ่านกระแส                                     apinat007.blogspot.com

8. นางสาวสุกัญญา วัชรจิรโสภณ                            namsukanya008.blogspot.com

9. นายรุสลัน เจะกุ                                                   ruslanlan009.blogspot.com 

10. นาย ตนุภัทร วรรณโก                                        tanupat010.blogspot.com

11. นาย พชร เจนทะเล                                            pachara011.blogspot.com

12. นางสาว ทัสนีม ยาลาพานี                                 thasnim012blogspot.com                           

13. นาย กรวิชญ์ หุ่มหยู่                                           https://korawich013.blogspot.com

14. นาย เกริกเกียรติ์ เย็นใจ                                     https://kroekkiad014.blogspot.com

15. นางสาว จุฑาทิพย์ หัสรังษี                                https://jutatip015.blogspot.com

16  นาย ณัฐพงศ์  เจริญศรี                                       https://nattapongmeuk017.blogspot.com

17  นาย ทิชานนท์  จันทร์ปลอด                               https://tichanon018.blogspot.com

18  นางสาว พรรณพษา  เสมามิ่ง                             https://phanpasa202.blogspot.com  

19  นางสาว พณิดา ศรีสวัสดิ์                                   https://panidadream021.blogspot.com

20  นางสาว พิยดา  จันจุฬา                                     https://piyada022.blogspot.com                     

21  นาย  ภูธเนศ  กันตังกุล                                      https://phutanet023.blogspot.com

22  นางสาว  มาริษา  มุสิกจินดา                              https://Marisa024.blogspot.com

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2563

ประวัติส่วนตัว

 ชื่อ-นามสกุล : นางสาวพรรณพษา  เสมามิ่ง

ชื่อเล่น : สา

รหัสนักศึกษา : 634713020

เบอร์โทร : 062-6514513

จบมาจาก : โรงเรียนสะบ้าย้อยวิทยา

แผนก/สาขา : ศิลป์-ภาษา


ระบบ AS/RS

ระบบ AS/RS           ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ ( Automated Storage/Retrieval System เรียกโดยย่อว่า AS/RS)  คือ  การทำงานของระ...